ด้วยจำนวนล่ามภาษามือที่มีอยู่ในประเทศไทยเพียง 500 คน และจำนวนผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูดกว่า 200,000 คน เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีความต้องการความช่วยเหลือผู้บกพร่องฯ เหล่านี้ให้สามารถสื่อสารกับผู้ได้ยินปกติได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TTRS) ที่ก่อตั้งด้วยแรงสนับสนุนและความร่วมมือของนักวิชาการชั้นนำ อาทิ นายสมยศ สุนทรวิภาต ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ และหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
ศูนย์คอลเซ็นเตอร์ของTTRS ให้บริการแก่ผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูด เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถสื่อสารกับบุคคลทั่วไปผ่านการส่งข้อความสั้น (SMS) ข้อความมัลติมีเดีย (MMS) การสนทนาด้วยข้อความ (Text Chat) และการสนทนาด้วยวิดีโอ (Video Chat) ซึ่งเป็นการให้บริการผ่านคอมพิวเตอร์ที่มีกล้อง และผ่านตู้คิออสที่ติดตั้งตามโรงเรียนโสตศึกษาต่างๆ การให้บริการผ่านการสนทนาด้วยวิดีโอนี้เป็นบริการที่เป็นที่นิยมของผู้ใช้บริการมาก มีผู้ใช้บริการกว่า 1,000 คนในปัจจุบัน การทำให้กลุ่มผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตมีความจำเป็นและสำคัญอย่างมาก (ต้องการอย่างน้อย 1mbps ของการอัพโหลด) ทั้งนี้คุณสมยศวางแผนที่จะเปิดการให้บริการการสนทนาผ่านวิดีโอผ่านทางสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตภายในปี 2556 และขยายการให้บริการให้ครอบคลุมผู้ใช้บริการ 100,000 คนในปี 2558 ดังนั้นการพัฒนาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้สามารถทั่วถึงทั่วประเทศไทยถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้สามารถขยายการให้บริการได้กว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น
การที่ผู้บกพร่องทางการได้ยินและผู้บกพร่องทางการพูดในประเทศไทยสามารถใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้นั้นเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญ ไม่ใช่เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย